Solutions for tomorrow

ความเสี่ยงจากอุทกภัย การฟื้นฟู และ การสกัดกั้น (เครดิตข้อมูลจาก Property Care Association UK) 

ในตอนแรกที่เราพิจารณาบทความนี้ เราอยู่ในท่ามกลางความแห้งแล้งและเรื่องน้ำท่วมอาจจะห่างไกลความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่เพียงไม่กี่สัปดาห์ เราก็ประสบกับฝนตกชุกในเดือนเมษายน จนต้องจดบันทึกไว้ ภาพข่าวเมืองและชนบทอยู่ใต้น้ำล้วนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว

ความรับผิดชอบในการปกป้องอาคารและทรัพย์สินจากน้ำท่วมจึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆสำหรับเจ้าของบ้านที่ “ตกอยู่ในความเสี่ยง” เบี้ยประกันสำหรับอาคารที่มีความเสี่ยงก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อการค้ำประกันที่ออกโดยบริษัทประกันภัยระบุว่าทุกบ้านในสหราชอาณาจักรที่มีความคุ้มครองการประกันอุทกภัยที่สิ้นสุดลงในปี 2556 บางรายอาจจะไม่สามารถทำประกันความเสี่ยงจากน้ำท่วมได้อีกต่อไป   

หากเราเข้าใจถึงสิ่งนี้ เราก็จะเริ่มเข้าใจว่าทำไมการส่งเสริมและพัฒนาแนวคิดเรื่องมาตรการป้องกันและฟื้นฟูจากน้ำท่วมแก่เจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดิน เจ้าของอาคารพาณิชย์ และอาคารสาธารณะ จึงมีความสำคัญ   

เอกสารนี้จะเล็งถึงภัยคุกคามจากน้ำท่วมและความเป็นจริงในปัจจุบันที่ผู้คนหลายพันคนทั่วสหราชอาณาจักต้องเผชิญ และจะสำรวจหาสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อลดผลกระทบจากเหตุการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงชีวิต   

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากน้ำท่วม  

สิ่งสำคัญในขั้นตอนแรกคือการนึกถึงความเสี่ยงจากอุทกภัย  นั่นก็คือแนวโน้มที่จะเกิดอุทกภัยและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น  

มีการให้บริการหลายประเภทที่สามารถใช้ในการประเมินอาคารที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมได้ ซึ่งหน่วยงานที่มีประโยชน์มากที่สุดก็คือสำนักงานสิ่งแวดล้อม ซึ่งเว๊บไซต์ของทางหน่วยงานนี้สามารถใช้ในการติดตามคำเตือนอุทกภัยแบบเรียลไทม์ได้   

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบความเสี่ยงจากอุทกภัยโดยใช้เว็บไซต์ Homecheck การให้บริการนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือกลุ่มบ้านเคลื่อนที่ แต่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมากที่เกี่ยวกับความเสี่ยงจากน้ำท่วมผิวดิน    

ล่าสุดได้มีการเปิดตัวแคมเปญและเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจและการรับมือเมื่อมีความเสี่ยงจากน้ำท่วม www.knowyourfloodrisk.co.uk องค์กรนี้มีความประสงค์ที่จะปลุกจิตสำนึกในเรื่องของความเสี่ยงจากอุทกภัยและให้คำแนะนำแก่ทุกชุมชนทั่วทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้ความรู้แก่เจ้าของบ้านและเจ้าของกิจการ  

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาคาร   

เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำท่วมในอนาคต จำเป็นต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการก่อสร้างอาคารที่อาจจะได้รับผลกระทบ  

น้ำส่งผลกระทบต่อวัสดุที่แตกต่างในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างเช่น คอนกรีตและอิฐมีความทนทานต่อความเสียหายจากน้ำมาก ไม้สามารถทนความเปียกในระยะสั้นแต่จะผุพังเมื่อยังคงเปียกอยู่เป็นเวลานาน ส่วนวัสดุที่มีความหนาแน่นเก็บน้ำได้น้อยแต่แห้งช้า ในขณะที่วัสดุที่มีรูพรุนสามารถกักเก็บน้ำได้มากแต่มักจะแห้งได้อย่างรวดเร็ว    

ประวัติการซ่อมแซมหรือดัดแปลงอาจส่งผลต่อวิธีการฟื้นฟูอาคาร ตัวอย่างเช่น  การแสดงผลความชื้นด้วยสารเคมีสามารถบ่งชี้ถึงปัญหาก่อนหน้านี้ว่ามีความชื้นเพิ่มขึ้น ซึ่งกรณีก่อนหน้านี้ปัญหาผุพังภายในอาคารอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในอนาคตได้อย่างมากถ้าหากโครงสร้างอาคารเปียกอีกครั้ง 

การก่อสร้างบางประเภทและการต่อเติมสามารถส่งผลให้เกิดช่องว่างภายในโครงสร้างอาคาร ฉนวนกันความร้อนที่อยู่ใต้พื้นและภายในผนังต้องคำนึงเช่นกัน เนื่องจากสามารถกักเก็บน้ำท่วมขังและอาจต้องเอาออกหากเปียก   

ข้อควรคำนึง 

เมื่ออาคารและความเสี่ยงที่เกิดจากน้ำท่วมได้รับการประเมินอย่างเหมาะสมแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องประเมินทางเลือกที่มีอยู่และแนวทางปฎิบัติ  

หากอาคารมีความเสี่ยงจากน้ำท่วมค่อนข้างต่ำ ก็อาจจะเป็นการฟุ่มเฟือยหรือไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินในการจัดหามาตรการป้องกันน้ำท่วม ในสถานการณ์เช่นนี้ เบี้ยประกันคุ้มครองน้ำท่วมอาจจะไม่สูงจนเกินไป 

ในทางกลับกัน หากตัดสินใจว่าควรใช้มาตรการป้องกันดังกล่าว ก็ต้องเลือกระหว่าง ‘ความยืดหยุ่นต่อน้ำท่วม’ หรือ ‘การสกัดกั้นน้ำท่วม’ ซึ่งการสกัดกั้นน้ำท่วมคือการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่อาคาร ขณะที่การยืดหยุ่นต่อน้ำท่วมคือการใช้ผลิตภัณฑ์และวิธีการปฎิบัติที่ให้อาคารมีความยืดหยุ่นต่อผลกระทบของน้ำท่วมที่เข้ามาในอาคาร    

อาจจะไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ทั่วถีงสำหรับอาคารที่สร้างอยุ่แล้ว แต่สามารถกำหนดระดับความสามารถในการต้านทานระดับน้ำและความยืดหยุ่นในการต้านทานน้ำท่วมที่สูงมากได้ สามารถสร้างห้องใต้ดินที่แห้งสนิทและอยู่อาศัยได้ในอาคารซึ่งครั้งหนึ่งผนังเคยเปี่ยมและเต็มไปด้วยน้ำ ในสถานการณ์ส่วนใหญ่มักจะมีประสิทธิภาพในการใช้มาตรการที่มีความต้านทานและความยืดหยุ่น 

การต้านทานน้ำท่วม  

กล่าวง่ายๆก็คือ หลักการเหล่านี้คือมาตรการที่ติดตั้งไว้ด้านบนหรือภายในอาคารเพื่อพยายามไม่ให้น้ำไหลเข้า โดยมีขั้นตอนการปฎิบัติมากมายที่สามารถทำได้ – บางขั้นตอนมีราคาไม่แพง แต่บางขั้นตอนก็ต้องใช้เงินลงทุนสูง ก่อนที่จะใช้มาตรการต้านทานน้ำท่วม สิ่งสำคัญคืออาคารจะต้องมีความเสถียรภาพและมีความสามารถต้านทานน้ำหนักถ่วงที่อาจเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับสูงสุดของน้ำ ถ้าหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างที่สามารถให้คำแนะนำและแนวทางได้ อย่างไรก็ตามตามกฎกติกาโดยทั่วไปถือว่าโครงสร้างก่ออิฐฉาบปูนที่เหมาะสมที่สุดควรจะสามารถต้านทานแรงดันน้ำนิ่งได้ 0.9 เมตร 

สามารถฉาบปูนและสารเคลือบอื่นๆสามารถฉาบกับพื้นผิวภายนอกเพื่อจำกัดการซึมของน้ำ ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีพื้นฐานเป็นซิลิโคนซึ่งปรับปรุงการต้านทานน้ำของการก่ออิฐที่มีรูพรุนได้อย่างมาก แม้ภายใต้แรงดันน้ำ     

ช่องที่เปิดไว้ให้มีการระบายอากาศและการบำรุงรักษา เช่น ท่อและสายเคเบิ้ล อาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อน้ำท่วมถึง สิ่งเหล่านี้มักจะจัดการได้โดยการปิดผนึกที่ดีและการใช้ช่องระบายอากาศที่ออกแบบมาเป็นพิเศษและอิฐลมที่ปิดโดยอัตโนมัติเมื่อระดับน้ำสูงขึ้น ในขณะที่น้ำท่วมล้นท่อระบายน้ำและท่อน้ำทิ้ง มันสามารถตีกลับไปออกที่โถชักโครก อ่างล้างหน้า ท่อระบายน้ำ และ ท่อระบายน้ำบนถนน สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการใช้วาล์วกันไหลกลับในท่อระบายน้ำและทางเดินท่อ หรือโดยการปิดผนึกรอบๆห้องตรวจสอบที่มีช่องโหว่อย่างระมัดระวัง มีผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์มากมายพร้อมออกจำหน่ายและสามารถติดตั้งได้ง่ายโดยผู้ที่มีความชำนาญและประสบการณ์  

ช่องเปิดขนาดใหญ่ เช่น ประตูและหน้าต่าง สามารถป้องกันได้โดยใช้พนังกั้นน้ำท่วมหรือประตูกันน้ำท่วมที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้แตกต่างกันอย่างมากทั้งในเรื่องของต้นทุนและความง่ายดายในการติดตั้ง แต่ถ้าติดตั้งร่วมกันกับส่วนประกอบที่ต้านทานน้ำท่วมอื่นๆ ก็สามารถป้องกันไม่ให้น้ำเข้าได้อย่างยอดเยี่ยม   

การใช้เทคโนโลยีและเทคนิคต่างๆในการกันซึมใต้ดินที่เห็นโดยทั่วไปสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างการต้านทานน้ำท่วมได้ ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ถังซีเมนต์ติดตั้งไว้กับผนังและบนพื้น และ/หรือการใช้เมมเบรนระบายน้ำแบบโพรงที่มีความหนาแน่นสูงซึ่งใช้เพื่อจัดการน้ำที่ไหลผ่านโครงสร้างภายนอกของอาคาร จากนั้นน้ำจะถูกส่งไปยังจุดที่สามารถสูบน้ำออกจากอาคารได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย    

ควรสังเกตว่ามาตรการป้องกันน้ำท่วมส่วนใหญ่ที่อธิบายข้างต้นนั้นอาศัยพื้นชั้นล่างที่แข็งแรงพร้อมใช้งาน ในกรณีที่เป็นพื้นไม้น้ำอาจจะดันทะลักพื้นดินด้านล่างและท่วมอาคารได้ ในสถานการณ์เช่นนี้อาจจำเป็นต้องพิจารณการปิดผนึกพื้นดินใต้พื้น โดยติดตั้งอุปกรณ์สูบน้ำในพื้นที่ชั้นล่างหรือเปลี่ยนพื้นไม้ด้วยคอนกรีต   

ในบางสถานการณ์ที่จำกัดอาจเป็นไปได้และคุ้มค่ากว่าที่จะติดตั้งพนังกั้นน้ำแบบถาวรหรือชั่วคราวรอบๆอาคารเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเข้ามาถึงโครงสร้างอาคารได้เลย อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้อาจจะมีราคาค่อนข้างแพงและอาจจะต้องใช้ทักษะและเวลาในการสร้างในกรณีที่เกิดน้ำท่วม แต่ควรคำนึงถึงพื้นที่ที่เอื้ออำนวยและผลกระทบของน้ำท่วมอาจทำให้เกิดการสูญเสียทางการเงินและการปรับปรุงอย่างมาก      

สิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ก็คือมาตรการความทนทานของพื้นเกือบทั้งหมดตามที่กล่าวไว้ข้างต้นจะต้องมีการบำรุงรักษาเป็นประจำและมีการตรวจสอบประจำปีเพื่อให้แน่ใจว่าส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อนำไปทดสอบ    

การซ่อมแซมที่ยืดหยุ่น  

ในสถานการณ์ใดๆที่อาคารถูกน้ำท่วมหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วม ควรกำหนดมาตรการและใช้ในระหว่างการก่อสร้างหรือการตกแต่งใหม่ใดๆ เพื่อช่วยให้อาคารและเจ้าของอาคารฟื้นตัวหลังเกิดน้ำท่วม ขั้นตอนเหล่านี้ไม่ควรเพิ่มต้นทุนการทำงานแต่สามารถลดเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟูอาคารหลังน้ำท่วม และลดผลกระทบต่อคนจากเหตุการณ์นี้    

ความสามารถในการต้านทานอุทกภัยของอาคารที่มีอยู่ส่วนใหญ่สามารถปรับปรุงได้โดยใช้มาตรการง่ายๆที่หลากหลาย  

การใช้วัสดุก่อสร้างและเทคนิคที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำและช่วยในการฟื้นฟูอาคารหลังน้ำท่วม ซึ่งอาจรวมถึงการปูผนังกระเบื้องและพื้นเหนือพื้นปูนที่ฉาบหรือพื้นที่แข็ง  

คุณสมบัติพิเศษที่มีส่วนประกอบที่มีความทนทานต่ำมาก เช่น แผ่นยิปซั่ม, แผ่นไฟเบอร์ MDF กระดานไม้อัด ควรแทนที่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ทนทานต่อน้ำและทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งอาจจะรวมถึงแผ่นผนังกันน้ำ ชั้นวางในครัวที่มีโครงเหล็กหรือกรอบพลาสติกและประตูภายในที่เป็นของแข็ง   

อาจรวมจุดระบายน้ำไว้ที่ชั้นล่างเพื่อให้น้ำที่มาจากน้ำท่วมสามารถระบายออกได้ง่ายภายหลังน้ำลด  

จุดจ่ายไฟฟ้าและปั๊มควรติดตั้งไว้ในระดับสูง ให้พ้นเหนือระดับอื่นๆ ยกเว้นในกรณีที่น้ำท่วมรุนแรงที่สุด   

การเรียบเรียงความน่าจะเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด แม้แต่มาตรการที่ง่ายและต้นทุนต่ำที่สุดก็อาจส่งผลกระทบที่สำคัญเวลาที่จำเป็นต้องพลิกฟื้น ซ่อมแซม และประกอบอาคารใหม่ 

บทสรุป 

น่าเสียดายที่ประกันภัยทั้งหมดหรือความเห็นอกเห็นใจในโลกนี้ไม่สามารถชดเชยความปวดร้าวที่คนส่วนใหญ่ประสบหากบ้านหรือธุรกิจของพวกเค้าถูกน้ำท่วม ดังนั้นเราทุกคนควรรู้และเข้าใจถึงความเสี่ยงจากอุทกภัย และปฎิบัติตามขั้นตอนเพื่อป้องกันตนเองจากผลกระทบของอุทกภัยร้ายแรงหากพบว่าตนเองตกอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง    

เป็นไปได้ที่จะปรับปรุงทั้งการต้านทานน้ำท่วมและการสกัดกั้นอุทกภัยในทรัพย์สินเสี่ยงภัยเกือบทุกแห่งในสหราชอาณาจักร ด้วยความคิดที่รอบคอบเพียงเล็กน้อย ความรู้บางอย่างและการวัดทิศทางเงินอย่างดี และสามารถบรรลุผลได้มากมาย ควรพิจารณาผลกระทบและผลกระทบของน้ำท่วมในอนาคตทุกครั้งที่มีการก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือปรับปรุงบ้าน  

มีหลายคนที่เขียนเกี่ยวกับความแห้งแล้งและการกู้คืนอาคารที่เสียหายจากอุทกภัย ซึ่งรวมถึงหลักปฎิบัติของ  Property Care Association’s สำหรับการกู้คืนอาคารที่เสียหายจากน้ำท่วม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์สมาคม 0844 375 4301 หรือบทความต้นฉบับได้ที่นี่  

https://www.property-care.org/flood-risk-resilience-resistance/#:~:text=Flood%20resistance%20is%20the%20use,that%20has%20entered%20the%20building.

More
News & Cases

Thank You for contacting us